เมื่อ 16 ก.ย. 2565 นายจตุพร พรหมพันธ์ุ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ (ทนายนกเขา) พร้อมแกนนำคณะหลอมรวมประชาชน แถลงการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนตั้งแต่ 18 ก.ย.ถึงวันที่ 30 ก.ย. ที่ศาล รธน.วินิจฉัยคดีนายกฯ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายจตุพร กล่าวว่า คณะหลมรวมฯ มีจุดยืนชัด “ไม่เอา 3 ป. ไม่เอารัฐประหาร แต่มุ่งสถาปนาอำนาจอธิปไตยของปวงชน” ดังนั้น จึงกำหนดเคลื่อนไหวสอดคล้องกับจุดยืนและสถานการณ์ที่ศาล รธน.นัดวินิจฉัยคดี 8 ปีนายกฯ ในวันที่ 30 ก.ย. เวลาบ่าย 3 โมง
การเคลื่อนไหวของคณะหลอมรวมฯ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. ถึง 25 ก.ย.นี้ ในบรรยากาศจัดงานวิชาการ ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา โดยวันที่ 18 ก.ย. ตั้งแต่บ่ายโมง เป็นการเสวนาในหัวข้อ “นับหนึ่งประเทศไทย ด้วยอธิปไตยของปวงชน หลัง 30 ก.ย.” มีวิทยากรมาร่วมเสวนา เช่น รศ. เจษฎ์ โทณะวณิก เป็นนักวิชาการทางกฎหมาย รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักวิชาการจากนิด้า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง และนายบรรจง นะแส ตัวแทนจากภาคประชาชน
จากนั้นวันที่ 25 ก.ย. เวลาบ่ายโมงตรงเช่นกัน มีปากฐาพิเศษหัวข้อ “อธิปไตยของปวงชน” โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ศ.ศิวลักษณ์ ส่วนในช่วงการเสวนาจะมีวิทยากร ประกอบด้วย ศ.ปราโมทย์ นาครทรรพ นายพิภพ ธงไชย ดร.สุริยะใส กตะศิลา และนายสาวิทย์ แก้วหวาน
อีกทั้งวันศุกร์ที่ 30 ก.ย. เวลาบ่าย 5 โมงเย็น คณะหลอมรวมฯ จะจัดแสดงพลังที่ราชประสงค์ โดยไม่กดดันการทำหน้าที่ของ ศาล รธน. และ พล.อ.ประยุทธ์ แต่จะกดดันหัวใจประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น เมื่อศาล รธน.นัดอ่านคำวินิจฉับบ่าย 3 โมง คณะหลอมรวมฯ จึงนัดชุมนุมเวลาบ่าย 5 โมง
“วันนั้นพี่น้องประชาชนมีความรู้สึกอย่างไร ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศขอเชิญชวนไปร่วมแสดงพลัง โดยเราเชื่อว่า 30 ก.ย.จะเป็นวันเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งนรก สวรรค์ จะเป็นจริงกันในวันนั้น”
นายจตุพร กล่าวถึงสถานการณ์ของประเทสว่า ขณะนี้พล.อ. ประยุทธ์ ซึ่งแทบไม่เคยลงพื้นที่ยังต้องลงไปที่ระยอง ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรักษาการนายกฯ ไม่กี่วันก็โชว์เหนือกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ทุกรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม คณะหลอมรวมฯ ยืนยันหยุดอำนาจ 3 ป. ไม่เอา 3 ป. ไม่เอา รัฐประหาร เพราะการสถาปนาอำนาจอธิปไตยของปวงชน ถือเป็นหน้าที่
ส่วนกรณีความขัดแย้งทางการเมืองของพรรคการเมืองนั้น เกิดขึ้นทั้งในพรรร่วมรัฐบาล และพรรครัฐบาลจับมือกับฝ่ายค้านช่วยกันตอกลิ่มให้หนักยิ่งขึ้น โดย ปชป.-พปชร.ขัดแย้ง ภท. ว่าด้วยการคิด ดอกเบี้ยและ ค่าปรับ แล้วมาขยายหักลำกันอีกในกรณี พรบ.กัญชา-กัญชง ชนิดไม่ไว้หน้า ภท. ดังนั้น ความขัดแย้งนี้ อาจนำไปสู่โฉมหน้าใหม่ในวันที่ 30 ก.ย. ได้ชัดเจนว่า ฝ่ายการเมืองจะเดินหน้ากันอย่างไร แม้จะคิดถึงการได้เปรียบเสียเปรียบการเลือกตั้งก็ตาม แต่จะเกิดสภาวะการเดดล็อกการเมืองตามมา
“ทั้งหมดนี้ ดูเสมือนหนึ่งไม่มีอะไร แต่จะเป็นคำตอบ การเดินไปสู่ “เดดล็อกการเมือง” เราเคยพูดหลายครั้งว่า 3 ป.ออกแบบไม่ให้มีการเลือกตั้งตามกำหนด โดยมาจาก รธน.และ กฎหมายลูก ใครคิดว่าจะชนะถล่มทลาย แลนด์สไลด์ก็ตาม แต่ถ้า รธน.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ยังมี ม.91 ม.93 ม.94 ซึ่งขัดแย้งกัน เนื่องจากเป็นผลจากการแก้ รธน. จากบัตรใบเดียวมาเป็น 2 ใบ แต่ไม่แก้ รธน.ใน ม.93 ม.94 ซึ่งเป็นหัวใจของบัตรใบเดียว”
นายจตุพร เชื่อว่า ท้ายสุดต้องถูกส่งให้ ศาล รธน.ตีความ และอาจทำให้ระบบเอา 100 หารและมี ส.ส.เขต 400 เขต ต้องไปตายคาศาล รธน. หรือจะกลับมาระบบ 500 หารก็ขัดอีกมาตราหนึ่ง หรือจะแก้ รธน. คงไม่ทันอายุของสภาผู้แทนฯ ชุดนี้ โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 24 มี.ค. 2566 ดังนั้น จึงเป็นเดดล็อกการเมืองที่ถูกออกแบบไว้สำหรับรักษาการนายกฯ
อีกอย่าง ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดนายกฯ ในวันที่ 24 ส.ค. 2565 จะมีผลรับมโหฬารกับการทำผิด กฎหมาย ซึ่งจะเป็นปมทางการเมืองต่อไป การเคลื่อนไหวของคณะหลอมรวมฯ จึงมีจุดยืนอำนาจต้องเป็นของประชาชน ไม่เอา 3 ป. ไม่เอารัฐประหาร แต่มุ่งสถาปนาอำนาจอธิปไตยของปวงชน
นายนิติธร กล่าวว่า ปัญหาของประเทศ แสดงถึงความอ่อนแอทุกมิติของสังคม กรณี ศาล รธน. เป็นปรากฎการณ์แปลกว่า ทำไมการพิจารณาคดี 8 ปี จึงมีข้อเท็จจริงแตกต่างคดีอื่นมากมาย ทั้งมีเอกสารหลุด มีการคาดคะเนสัดส่วนของเสียงชี้ขาดต่างๆออกมา รวมทั้งประเด็นศาลจะนำมาพิจารณา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของศาลเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาขณะนี้คือ การไม่ยอมรับข้อเท็จจริงที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ มา 8 ปีแล้ว ดังนั้น การตีความของศาลควรมุ่งไปเป็นแบบการจำกัดอำนาจ ไม่ไช่การต่ออำนาจ สิ่งสำคัญหวังว่า ศาลจะพิจารณาทั้งหลักกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ไม่ได้ใช้เฉพาะ ม.264 เท่านั้น เพราะเมื่อมีถ้อยคำใน ม.264 ว่า “เป็น” จึงได้บรรจุดเนื้อหา ม.158 และ ม.159 ประกอบด้วย พร้อมมาตราอื่นอีกหลายมาตรา ส่วนประเด็นสำคัญคือ การรักษาการของ รมต.ต่างๆ นั้น ขณะนี้มีข้อถกเถียงของสังคมใน 3 ทางคือ เป็นนายกฯ เริ่มปี 2557 กับปี 2560 และ ปี 2562 แต่เมื่อศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะอาจฝ่าฝืน รธน. ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้าม จึงเกิดผลตามกฎหมาย คือ รมต.ทุกคนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่แทน
“ถ้าศาลสั่งตามทางปี 2557 ทุกคนต้องพ้นจากหน้าที่และมีผลต่อการฝ่าฝืน รธน. ดังนั้น อย่าสร้างความสับสนต่อสังคม ด้วยเหตุนี้สังคมจึงล่มสลายในทุกมิติของประเทศ คณะหลอมรวมฯ กำลังบอกว่า ฝ่ายการเมืองที่คิดว่าชนะนั้น แพ้กันหมด จนประเทศล่มสลาย