ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศึกษากรณี เนตร นาคสุข สั่งไม่ฟ้องคดี”บอส อยู่วิทยาให้ออกจากราชการ
ตรวจสอบไม่พบว่ามีเรื่องของการทุจริตมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และเนื่องจากนายเนตรไม่เคยประพฤติเสื่อมเสีย อีกทั้งเป็นข้าราชการทำงานมานานเป็นระยะเวลา 40 ปี จึงได้ลดโทษให้เป็นให้ออกจากราชการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่นายเนตรได้ยื่นใบลาออกจากราชการ
เป็นเหตุให้นายเนตร นาคสุข อดีตรองอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องนายพชร ยุติธรรมดำรง ประธานคณะกรรมการอัยการ นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน
อดีต อัยการสูงสุด (อสส.) ต่อศาลปกครอง
เพิกถอนคำสั่งลงโทษให้ออกจากราชการ เกี่ยวกับมติ ก.อ. ที่สั่งลงโทษวินัยร้ายแรง นั้น ในข้อหา การสั่งคดีที่ไม่”รอบคอบ”นั้น จึงเป็นกรณีดังที่สุภาษิต ที่ว่า “เสร็จนา ฆ่าโคทึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล”
ความเป็นมาของสภาพปัญหา การสั่งคดีของท่านรองอัยการสูงสุด “เนตร นาสุข “โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มีพยานรู้เห็นเหตุการสองคน นายจารุชาติ มาดทอง(เสียชีวิตไปแล้ว) และ พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร อยู่ก่อนแล้ว
จึงเป็นการทำหน้าที่โดยความสุจริต พิจารณาสั่งคดีจากพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นทั้งสิ้น มีพยานบุคคลและพยานผู้เชี่ยวชาญ
ไม่ว่า พ.ต.ท.สมยศ แอบเนียม ที่ให้ความเห็นว่าความเร็วรถไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยการเอารอยรถชนมาเทียบเคียงเเล้ว
พบว่าการชำรุดมีไม่มาก และผู้เชี่ยวชาญของศาลในทางตรวจพิสูจน์เครื่องและอุปกรณ์ส่วนควบของยานยนต์ที่เกี่ยวเนื่องกับอุบัติเหตุ กองบังคับการตำรวจจราจร ที่ขึ้นทะเบียนกับศาลยุติธรรม อย่าง พ.ต.ท.สุรพล เดชรัตนวิชัย ที่ให้ความเห็นไว้อย่างละเอียด เเต่สรุปได้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะขับด้วยความเร็วถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รวมถึง รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยมต่างให้ความเห็นตรงกันหมดว่าความเร็วไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดยืนยันสอดคล้องกันสมเหตุสมผลเชื่อถือได้
คงมีพยาน พ.ต.ต.ธนสิทธิ แตงจั่น ที่ให้การว่าจำเลยขับรถเร็ว 179 กม./ชม. เเต่มาภายหลังกลับคำให้การ โดยคำนวณใหม่ซึ่งก็อ้างว่าคำให้การในตอนเเรกนั้นไม่ถูกต้องเนื่องจากความรีบเร่ง เเละก็มีการใช้วิธีคำนวนใหม่ที่เชื่อถือได้ว่าความเร็ว 79 กม./ชม.
ในประเด็นการคำนวณความเร็ว ยังมีประจักษ์พยานหลักฐานอื่นที่ควรหยิบขึ้นมาพิจารณาประกอบ เช่น การขี่รถจักรยานยนต์ผู้ตายเปลี่ยนช่องทางเดินรถ จากซ้ายสุดไปชนกับรถยนต์ที่ขับมาทางตรง ในช่องทางขวาสุด เหตุเกิดเวลางกลางคืน แม้จะใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนทั่วไป
ก็ต้องเกิดอุบัติเหตุแล้วมันผิดตรงไหน พยานที่เกี่ยวกับคดีนั้น ย่อมหมายถึงพยานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ชึ่งศาลฎีกาได้ให้แนวทางไว้ตามหลักฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 95 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่พยานประเภทแรก คือ เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง หรือที่เรียกกันว่า ประจักษ์ พยาน ศาลฎีกาที่ 12498/2558
พนักงานสอบสวนก็ดี พยานผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเร็วก็ดี ไม่ได้เป็นอยู่ในเหตุการณ์ ขณะเกิดเหตุ พยานผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเพียงพยานที่ให้ความเห็นไปตามหลักวิชาการของตน ซึ่งปกติศาลก็รับฟัง “แต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป” ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
พนักงานอัยการ ต้องอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของประชาชน และในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
นอกจากนี้ยังต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ประกอบกับคดีนี้ บ้อส อยูวิทยา มีการเหยี่ยวยาความเสียหายให้กับผู้ตาย ทั้งที่ตนเองไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหา จนเป็นที่พอใจ แล้ว เป็นการพิจารณาสั่งคดีชอบด้วยกฎหมายทุกประการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเเสวงหาข้อเท็จจริงของศาลปกครอง
ดังจะเห็นได้จากตดีตัวอย่าง คดี คดีลักทรัพย์ (ซาลาเปา) เพื่อนำไปให้บุตรของตนรับประทาน แม้จะเป็นความผิดแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การสั่งคดีไม่ฟ้องของท่านรองอัยการ “เนตร นาคสุข” จึงเป็นไปตามมาตราฐาน และดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย
โดยอาศัยแนวคำพิพากษาศาลฎีกาและตามความเห็นแย้ง และคำชี้ขาดของอัยการสูงสุด ซึ่งวินิจฉัยเป็นแนวทางตามกฎหมายตาม พ.ร.บ.องค์กรและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 15 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 6.58 ประกอบกับ พ.ร.บ.องค์กรค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 8
ความเห็นแย้งของอัยการสูงสุดวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ว่า หากจะต้องยื่นฟ้อง คนที่มีข้อเท็จจริงประจักษ์แล้วว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ก็จะเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 3 “เพราะเท่ากับเป็นการฟ้องผู้บริสุทธิ์” แม้จะยื่นฟ้องไปแล้วพนักงานอัยการสามารถถอนฟ้องได้ตามคำชี้ขาดและความเห็นแย้งอัยการสูงสุดที่ 443/2561
แม้จะมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ จากพยานบุคคลชึ่งไม่ใช่คนไทย แต่เเป็นชาวเมียนมา ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ เห็นเหตุรถชนกัน เป็นพยาน เหตุการณ์ที่รถของนายวรยุทธได้ลากร่างของผู้เสียชีวิตไปกว่า 169 เมตร นั้น
ในวันเกิดเหตุที่พนักงานงานสอบสวนและผู้เชียวชาญกองพิสูจน์หลักฐานได้ทำแผนที่เกิดเหตุไว้ และฟังประกอบกับภาพถ่ายกล้องวงจรปิด แล้ว ในวันเกิดเหตุไม่มีร่องรอยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
ผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา นั้น เจตนาของกฎหมายบัญญัติว่า ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ นั้น ตำรวจไม่สามารถที่จะรื้อคดีมาสั่งฟ้องอีกได้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2557
อัยการจึงได้รับการคุ้มครองในการสั่งคดี การที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในสังคมอัยการ ใช้เหตุและช่องว่างของระเบียบเพื่อเอาใจกระแสสังคม
ความน่าเชื่อถือของอัยการระดับผู้บังคับบัญชา ย่อมไม่กระทำไปตามอำเภอใจตามกระแสสังคม “จึงไม่ใช่เอาความเข้าใจของตัวเองมาตัดสิน” อัยการผู้ใต้บังคับบัญชา ชึ่งเป็นขุนพลตนเองได้รับผลร้าย จึงเป็นกรณีศึกษา
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษ