เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #คดีพลิกแน่ ! ดร.สุกิจ ยัน คดีจับอธิบดีกรมอุทยานไม่ชอบด้วยกม.-การคุ้มครองพยานด้วย

#คดีพลิกแน่ ! ดร.สุกิจ ยัน คดีจับอธิบดีกรมอุทยานไม่ชอบด้วยกม.-การคุ้มครองพยานด้วย

27 January 2023
217   0

 

ปัญหา การคุ้มครองพยานที่เป็นผู้ร่วมกระทําความผิด
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖
กับ
การสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย
…………………||||||||||…………………………

โดย นายสุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษากรณี” พรบคุ้มครองพยานในคดีอาญา และการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย

ข่าว เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภาครัฐ และ กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป.

ได้ร่วมจับกุม นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เรียกรับเงินหน่วยงานในสังกัด (ประมาณ 15 หน่วยงาน)

โยกย้ายตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานในองค์กร ของ
ตนเอง ผ่านช่องทางทางแอปพีเคชั่นไลน์“ถ้าไม่นำเงินมามอบให้ จะถูกโยกย้ายไปตำแหน่งอื่น ที่ห่างไกลจากภูมิลำเนา” พบเงินของกลางจำนวนมาก ย่อมเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งทางอิเล็กทรอนิกส์ คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556

หากข้ออ้างของนายชัยวัฒน์ ตามข่าวเป็นความจริงย่อมมีความผิดทั้งผู้ให้และผู้รับ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2563

พนักงานสอบสวน มีอำนาจสอบสวน กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป. มีอำนาจสอบสวน เข้าตรวจค้น จับกุมคุมขัง ผู้กระทำผิดในคดีนี้หรือไม

ตามข่าว นายชัยวัฒน์ ฯ ให้การยืนยันว่า มีการบังคับเก็บเงินรายเดือน มีการซื้อตำแหน่ง มีการวิ่งขอให้อยู่ตำแหน่งเดิม มีการโยกย้ายตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น จึงประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุม โดยนายชัยวัฒน์ รับอาสานำเงินจำนวน 3 ชองเป็นเงินเก้าหมื่นบาทเศษไปถ่ายเอกสารและได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน โดยการหลอกล่อสนทนาทางโทรศัพท์กับท่านอธิบดีเจ้ากระทรวงต่อรองยอดเงิน แล้วตนเองเป็นผู้นำเงินดังกล่าวไปไว้ ในห้องท่านอธิบดี นั้น

กรณีจึงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง”ยิ่งอธิบดีกรมอุทยานอ้างว่า ถูกนายชัยวัฒน์กลั่นแกล้งเพราะเป็นคู่ขัดแย้ง” ยิ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังที่กฎหมายกำหนดไว้

ประกอบกับนายชัยวัฒน์ เคยถูก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต ชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ และเคยถูกให้ออกจากราชการ “ย่อมเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เป็นข้อสังเกตุ ถึงเหตุและผลว่า เหตุใดผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้มอบให้ตนเอง มาดำเนินการแทน

รับฟังประกอบกับปัญหาข้อกฏหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1 แม้นายชัยวัฒน์และตำรวจจะนำเทปบันทึกเสียงมาประกอบคดีเป็นพยานนั้น ก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำความผิด นั้น เจตนารมย์ของกฏหมาย

จึงเป็นเรื่องที่นายชัยวัฒน์ดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง อันเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ที่ตนเองไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือมีส่วนได้เสียกับเงินจำนวนดังกล่าว

ประกอบกับเจ้าของเงินก็ยังไม่ได้ผลร้าย จากสัญญาต่างตอบแทน ดังที่เป็นข่าว เพราะยังไม่ถึงฤดูการโยกย้าย ที่จะทำให้ผู้ได้รับผล
กระทบโดยตรงเกิดสิทธิ ในการดำเนินคดีได้โดยชอบ
นายชัยวัฒน์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามกฎหมายนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555

ในกรณีบุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทําความผิดอาจมีทั้งกรณีผู้ต้องหาซึ่งถูกกันเป็นพยานหรือจําเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน กําหนดไว้ในบทนิยามคําว่า ““พยาน”อย่างชัดเจน

ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทําความผิดจึงไม่สมควรได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน

ไม่ใช่ตำรวจหรือ ปปช.กันเป็นพยานแล้ว แม้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตมีกฏหมายรองรับอำนาจตนเองว่า สามารถกันผู้ร่วมกระทำผิดเป็นพยานได้

ประโยชน์ที่พยานจะได้รับ ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีอีก กล่าวกันง่ายๆว่า ไม่ถูกดำเนินคดีที่ตำรวจหรือ ปปช.กันเป็นพยานก็ตาม

แต่ผู้ได้รับผลกระทบจากการที่ถูกพลาดพิงได้รับผลร้าย จากพยานที่ได้รับค่าตอบแทนไม่ต้องถูกดำเนินคดี พยานอาจได้รับผลร้ายหรือฟ้องและหรือถูกดำเนินคดีอันเป็นความผิดต่อกฏหมายอื่นได้

แม้ตำรวจจะสงสัยว่าเงินจำนวนมากในห้องอธิบดี เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด “ก็ต้องพิจารณาถึงหลักกฏหมายและสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย

คดีเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิด เจตนารมของกฏหมายนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริต(ปปช) เป็นผู้มีอำนาจที่จะทำการไต่สวนโดยตรงตามที่กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ส่วน กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป.นั้น ไม่สามารถ ใช้ระบบกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ชึ่งเป็นกฏหมายโดยเฉพาะ มาใช้กับ รบบการสอบสวน ชึ่งเป็น ระบบการกล่าวหา มาทำการสอบสวนสวนได้โดยชอบ

ระบอบการ”ไต่สวน กับระบบการกล่าวหา จึงใช้กฏหมายคนละฉบับ หมายถึง ระบบไต่สวน ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าว สามารถทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือ และหรือผู้ถกกล่าวหา สามารถชี้แจงเป็นหนังสือได้

ส่วน”ระบบกล่าวหา “ต้องมาพบพนักงานสอบสวน เพื่อสอบปากคำ
โดยพนักงานสอบสวนสามารถ”รับคดีได้เลย” ถ้าไม่รับถือว่าละเว้น

ระบบไต่สวน เจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดจึงต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตปชช.นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบทุจริต(ปปช) ตั้งอนุกรรมการไต่สวน”ชึ้มูลความผิดเสียก่อน

เหตุที่ต้องใช้คำว่าต้องใช้”คำว่า ต้องเข้าประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตนั้น ลำพังเลขา (ปปช.) โดยตำแหน่งไม่มีอำนาจที่น้าที่จะกระทำได้ดวยนเองโดยลำพัง

อีกทั้ง ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร์ไทย พศ.2560 มตรา 243 วรรคท้าย” ในกรณีจำเป็น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจใช้ดุลยพินิจมอบหมายภาระหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาบางคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนในเรื่องความผิดที่ไม่ใช่แรงร้ายแรง เท่านั้น

ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควร นั้น

ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป.อยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงในการรวบรวมพยานหลักฐาน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย และกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พศ2561 มาตรา 61 อย่างเคร่งครัด

ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ ส่งเรื่องที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 28(2)และ(4) ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามประมวลกฎมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้นั้น

ย่อมเป็นข้อยกเว้นหลักการสำคัญ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้มีช่องทางในการส่งมอบสำนวนการสอบสวนให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบแทนได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพราะตามราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้นหมายถึงก็ต้องส่งให้พนักงายสวนดำเนินแทนภายในกรอบที่กฏหมายกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 30 วันเช่นกัน หลังจากที่ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์

หากเกินกำหนด อาจ ส่งผลให้การสอบสวนที่ได้รับมอบโดยพนักงานสอบสวน ย่อมไม่ชอบด้วยกฏหมาย ถือว่า ไม่มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าว พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

พนักงานสอบสวจจะต้องส่งเรื่องคืน คณะกรรมการป้องการและปราบปราบการทุจริตต้องตั้งอนุกรรมการไต่สวน”ชี้มูลความผิดเสียก่อน อัน “ เป็นระบบไต่สวน”

ชึ่งเป็นคนเป็นคนละส่วน กับตำรวจที่ใช้ระบบ”กล่าวหา ชึ่งเป็นกฏหมายโดยเฉพาะ ที่จะต้องทำการสอบสวน หมายเรียก และหมายจับได้โดยชอบ หนือเรียกหลักประกัน

ตำรวจไม่มีอำนาจใช้ระบบการสอบสวบ “ไต่สวนหาความจริง”ในคดีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดได้ ได้โดยชอบ

แม้คณะกรรมการป้องกันและปรราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช) จะทำ เอ็มโอยู กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ตาม

แต่ด้วยรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติกฏหมายรัฐธรรมนูญมีสภาพบังคับว่า ตำรวจมีอำนาจสอบได้โดยชอบในกรณีเดียวได้”
ในระบบไต่สวน”คือกรณีความผิดเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรง

คดีที่อธิบดีกรมอุทยานถูกกล่าวหานั้น ท่านผู้การ กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป.ท่านกล่าวว่า คดีนี้มีโทษถึงประหารชีวิต อำนาจการไต่สวนจึงอยู่ที่ ปปช.โดยตรง

แต่ถึงอย่างไรก็ดี แม้คดีจะเป็นความผิดเล็กน้อย ตำรวจจะทำการสอบสวนได้โดยชอบ จึงต้องได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ เสียก่อน ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559

การจับและคุมขังของ กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป.และให้อำนาจประกันตัว “ก่อนที่อนุกรรมการป้องการการปราบปราบการทุจริตจ”ะชี้มูลความผิด “นั้น“ ย่อมขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติของกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย

ทั้งนี้ ระบบไต่สวน ต้องดำเนินการตามขั่นตอนที่กฏหมายบัญญัติไว้ไม่ใช่”เป็นกรณีระบบกล่าวหา เมื่อ”ตำรวจ สงสัยต้องจับ”แต่เมื่อ”ศาลสงสัย “ศาลต้องปล่อย คือหลักทวงดุลอำนาจทางกฏหมายก็ตาม

แต่เมื่อกฏหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ศาลจะลงโทษผู้กระทำผิดได้นั้นจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนของ ปปช.เป็นหลัก

เว้นแต่สำนวนการสอบสวนยังไม่สมบูรณ์ ศาลย่อมแสวงหาพยานหลักฐานได้เอง “อันเป็นสาระสำคัญ ตามพระราชบัญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

“ระบบการไต่สวน”กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ – บก.ปปป. จึงไม่มีอำนาจการสอบสวน ได้เองโดยลำพัง

แต่มีหน้าที่รวบรวมพยานพยานหลักฐานส่งให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ ตามหลัก กฏฆมายดังกล่าวข้างต้นแต่ต้องไม่เกิน ภายใน 30 วัน

ดังนั้น ความผิดของนายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ถูกกล่าวหา นั้น

พฤติการณ์แห่งคดีก็ไม่ใช่ความผิดชึ่งหน้าที่จะจับหรือค้นโดยไม่มีหมายจับได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 92 วงเล็บ(4)

ว่า เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การ
กระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น

ด้วยเหตุนี้ เงินที่พบในห้องทำงานของนายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด หนือจับกุมได้ในขณะกระทำความผิด แต่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย

กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นถึงองค์ประกอบของความผิด ว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมา ได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

แม้ผลการตรวจค้นจะพบเงินในห้องของอธิบดีกรมอุทยานจำนวนมาก และหรือ มีชื่อของแต่ละหน่วยงานบนซองสำหรับใส่เงินมีจำนวนหลายซ่องก็ตาม เงินที่ตรวจค้นได้ไม่ใช่ทรัพย์สินมีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์สินในขณะจับกุมได้ในระหว่าง
การกระความผิดฐานเรียกรับตามข้อกล่าวหา หรือจับกุมได้ขณะส่งมอบเงินที่อ้างว่าเรียกรับในขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม

จึงเป็นกรณีที่ยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าเงินที่ตำรวจยึดไว้เป็นของ กลางเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือไม

จึงไม่ใช่เหตุชึ่งหน้าที่จะจับกุมและตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับจับจากศาลได้โดยชอบ

สังคมยังสับสนกับอำนาจตำรวจ ที่เป็นข่าวเกี่ยวกับการปราบปราบการทุจริตในปัจจุบัน ว่าตำรวจมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 ในระบบไต่สวน เพียงใด

จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม