ข่าวประจำวัน » กุศโลบาย ถวายคืนพระราชอำนาจ !! ดร.เทอดศักดิ์ คือ นายกพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ

กุศโลบาย ถวายคืนพระราชอำนาจ !! ดร.เทอดศักดิ์ คือ นายกพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ

8 July 2024
23   0

ถวายคืนพระราชอำนาจ
หรือ “นายกพระราชทาน”

กระแสการถวายคืนพระราชอำนาจ ที่เกิดขึ้นอย่างดาดดื่น ที่ประชาชนต่างเรียกร้องให้ถวายคืนพระราชอำนาจ เพราะทนไม่ไหวกับสภาวะ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ ทุจริต ล้มเหลว สร้างความเดือดร้อนไปยังประชาชนทุกหย่อมหญ้า

ส่วนหนึ่งก็คัดค้าน อ้างกระทบกระเทือนเบื้องยุคลบาท ดึงฟ้ามาต่ำ โหรเจ้า ดึงพระมหากษัติย์มาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง

อันที่จริงแล้ว วาทกรรม “ถวายคืนพระราชอำนาจ” เป็นกุศโลบาย เชิงกลยุทธ์ทางการเมือง ที่มีต้นคิดมาจาก พณฯไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ 7 สมัย อดีตรัฐมนตรี หลายสมัย ประธานยุทธศาสตร์ชาติ ในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

ที่เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2549 มีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดย พลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตเลขาพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย แต่เกิดความรุนแรง ยิง M79 เข่นฆ่าประชาชน อย่างโหดเหี้ยม เจ็บตายหลายสิบราย จากคนเสื้อแดง ทำร้ายคนเสื้อเหลือง

จึงจำเป็นต้องเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โจโลฤกษ์ ยึดอำนาจ ”ทักษิณ ชินวัตร“ โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกรินทร์ ผู้บัญชาการทหารบก

ในปี 2556 ถึง 2657 การชุมนุมที่ยาวนานที่สุด และมีผู้ชุมนุมนับสิบล้านคน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ก็เรียกร้องในลักษณะเดียวกัน แต่ก็เกิดความแตกแยกทางความคิด

ในรูปแบบวาทกรรมเดิมๆ จากกลุ่มที่ไม่อยากเสียอำนาจ ประกอบกับ กำนันสุเทพ ไม่มาตามนัด มีการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนจำนวนมาก จากการถูกกลุ่มคนเสื้อแดง ชายชุดดำ ปาระเบิด ยิง ฆ่า ด้วยอาวุธปืน M79 และ RPG กลางการชุมนุมประท้วง ตายเจ็บนับร้อยคน ศพเลือดกระจายเกลื่อนถนน

จึงจำเป็นที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้นำกำลังเข้ายึดอำนาจในวันที่ 22 พฤศภาคม 2557 เวลา 16.30 น. ภพฉัตรมงคล หรือภพบัวตูม ที่สโมสรกองทัพบก จับแกนนำทั้งหมดกักขังไว้ในค่ายทหาร

ตลอด 92 ปี ตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา เกิดการรัฐประหารแล้ว 13 ครั้ง แล้วประเทศก็กลับไปที่ “วงจรอุบาทว์” ยึดอำนาจ-ล้มรัฐธรรมนูญ-เลือกตั้ง-ทุจริต แล้วก็ยึดอำนาจ เพราะไทยที่ ”คัดลอก“ หลักการปกครองจากชาติอื่นๆมาหลายชาติ ยังไม่มีการปกครองที่เหมาะสมกับคนไทย ทั้ง พฤติกรรม ประเพณี สีผิว ชาติพันธ์ุ และศาสนา

อันที่จริงแล้ววาทกรรม ”ถวายคืนพระราชอำนาจ“ เป็นหลักจิตวิทยา เพื่อสร้างความสนใจ อธิบายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการก็คือ ” นายกพระราชทาน “ ต่างหาก

เพราะประชาชนเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์มากกว่านักการเมือง และมั่นใจว่าพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ จะแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เพื่อให้
”คนดี“ มาบริหารประเทศ ประชาชนพ้นภัย ทุกข์ โศก แร้งแค้น ยุติทุจริต เห็นแก่ตัว ได้รับความยุติธรรม ตามที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ เช่น นำ ปตท.กลับคืนมาเป็นของประชาชน รัฐบาล เป็นต้น

การตั้ง “นายกพระราชทาน” อันที่จริงแล้ว เป็นพระราชอำนาจในรัฐธรรมนูญ ที่มีในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ ล่าสุดในฉบับปี 2560 มาตรา 3 และมาตรา 5 ก็ได้ระบุไว้ชัดเจน

หากศึกษาอย่างถ่องแท้ ที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ ก็เคยใช้พระราชอำนาจโดยตรง ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เช่น นายธานินทร์ ไกรวิเชียร นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น

”ถวายคืนพระราชอำนาจ“ จึงเป็นเพียงวาทกรรม สะท้อนถึงความสุดทนของประชาชน ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ ”คนดี“ จากพิษเศรษฐกิจ การบริหารที่ล้มเหลวงของนักการเมือง

ทางเลือกของชาติในยามนี้ จึงมีเพียง 2 ทางเลือก คือปล่อยให้ประเทศหายนะไปเรื่อยๆ ล้มเหลวไปเรื่อยๆ จนประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้าน บาดเจ็บ ล้มตาย ศพ เลือด เกลื่อนถนน คนไทยฆ่ากันเอง เหมือนในอดีตที่ผ่านมา แล้วค่อยเกิดการรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง ทุจริต ยึดอำนาจอีก ก็ได้

หรือ การขอใช้พระราชอำนาจ สกัดยุติความขัดแย้งในช่วงเวลาที่ประเทศล้มเหลว รัฐบาลทุจริต นายกกระทำผิดกฎหมาย ประเทศเจอทางตัน ด้วยการตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญเลยก็ได้

นี้คือหลักจิตวิทยาในการอธิบายความ เรื่องการ “ถวายคืนพระราชอำนาจ” ที่มีความหมายคือ “นายกพระราชทาน“ ตามหลักการปกครองของไทย ตามรัฐธรรมนูญ นั้นเอง

ดั่งพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

“ คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยากแต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดีจะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี ”

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
8 กรกฎาคม 2567