ถวายคืนพระราชอำนาจอย่างไร?
พระราชอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในหมวด 1 ทั่วไป มาตรา 2 ระบุว่า “ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข”
มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
นอกจากนี้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ยังได้ ระบุว่า
“ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ”
ตามมาตรา 5 วรรค 2 จึงหมายถึงการใช้พระราชอำนาจได้ หากไม่มีบทบัญญัติใดๆในรัฐธรรมนูญ ตามหลักการปกครอง และคำสั่งนั้นถือว่าเป็นที่สุด
มาตรา 8 ยังบัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หากเกิดความคลาดเคลื่อนผิดพลาดใดๆ ย่อมถือว่ามิได้ทรงกระทำผิด เพราะบุคคลที่รับผิดชอบต่อความคลาดเคลื่อนผิดพลาดนั้น ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ที่ถือเป็นผู้แทนขององค์กรนั้นๆ
มาตรา 9 ในรัฐธรรมนูญ ยังบัญญัติถึงพระราชฐานะและพระราชอำนาจอื่นๆ อีกหลายประการ ได้แก่ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
มาตรา 10 “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย”
มาตรา 11 รวมถึง “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์”
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะในการเลือก และแต่งตั้ง ปลดออก ผู้ทรงคุณวุฒิมาดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ข้าราชการในพระองค์ และสมุหราชองครักษ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระรัชทายาทเพื่อสืบราชสันตติวงศ์ตามพระราชอัธยาศัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะ ประมุขของรัฐ มีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ผ่านสถาบันต่างๆ ของรัฐ คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การถวายคืนพระราชอำนาจ อันที่จริงแล้ว พระมหากษัตริย์นั้นทรงมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่แล้ว
การเรียกร้องถวายคืนพระราชอำนาจ หรือการขอให้พระองค์ทรงใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ในยามหนึ่งยามใด เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ ย่ำแย่ ขัดแย้ง ล้มเหลว จากการกระทำของนักการเมืองไม่ถึง 1 พันคน ตามรัฐธรรมนูญระบุ
มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
แม้ในอดีตที่ผ่านมาในปี 2549 และปี 2566-2567 เคยมีการเรียกร้องให้มีการถวายคืนพระราชอำนาจ แต่สุดท้ายก็เกิดการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง เพราะประชาชนบาดเจ็บล้มตาย มีการก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย ประกอบกับคณะ กปปส. ที่นำโดย “กำนัน” ไม่มาตามนัด จึงเกิดรัฐประหารขึ้น 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. หรือภพฉัตรมงคล
ถ้าหากครานี้เกิดรัฐประหารขึ้นอีก นักการเมืองหลายสำนักคงถูกกวาดล้างอย่างรุนแรง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ อย่างน้อย 3-5 ตระกูล ที่โกงแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยุยงเด็ก เยาวชน ก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย อย่างเปิดเผย เพื่อหวังให้ครอบครัว ตนเอง พรรคพวกขึ้นครองแผ่นดิน
ในยามนี้คงชัดเจนว่าประเทศกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะล้มเหลวในทุกด้าน รัฐบาลไม่สามารถจะแก้ปัญหาบ้านเมือง ดังที่หลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อไว้ได้ นักการเมืองก็โกงกิน ใช้ภาษีประชาชนแบบเปิดเผย ใช้วุฒิการศึกษาปลอม ซื้อขายตำแหน่ง บัตรจอดรถ ตั้งแต่รัฐสภา ยันทำเนียบ รัฐบาล อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย อาญาแผ่นดิน ทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของชาติจนตกต่ำที่สุดในเอเซีย
วันนี้ไม่มีประชาชนลงท้องถนน การสูญเสียจึงมิเกิดเหมือนสองครั้งที่ผ่านมา ทำให้เป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถกระทำได้ คนละไม้คนละมือ ตามสิทธิพลเมือง กรอบกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ผ่านสื่อใหม่ หรือโซเชียลมีเดีย ให้ถวายคืนพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ นั้นเอง
“ ถึงเวลาตายวายชีวาวาท ทรัพย์และธาตุก็มิตกไปเมืองผี
เกิดเป็นคนจงมุ่งทำแต่ความดี กลายเป็นผีตายไปใครก็ชม “
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
7 กรกฎาคม 2567