จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่2)
เรื่อง พิจารณาแก้ปัญหาที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์และหมู่บ้านจัดสรร
เพื่อโอนคืนวัดธรรมิการามและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามกฎหมาย
เอกสารแนบมาด้วย
1)บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่)
ขอสรุปความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่)ที่ได้ตอบต่อกรมการศาสนา ที่มีหนังสือด่วนที่สุดกรณีปัญหาการนำที่ดินที่นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ทำพินัยกรรมยกที่ดิน924ไร่ ให้แก่วัดธรรมมิการาม แต่มูลนิธิฯที่รับเป็นผู้จัดการมรดกนำไปขายแก่เอกชน ทำเป็นสนามกอล์ฟอัลไพน์และหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อความเข้าใจโดยย่อๆ ดังนี้
คำถามในประเด็นที่หนึ่ง : เมื่อนางเนื่อม ฯ ถึงแก่กรรรม ที่ดินซึ่งได้ทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดฯทั้งสองแปลง จะตกเป็นที่ธรณีสงฆ์โดยทันทีหรือไม่?
@ คณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่) มีความเห็นว่า
“ที่ดินตามพินัยกรรมของ นางเนื่อมตกเป็นกรรมสิทธิของวัดแล้วตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ที่ดินมรดกของนางเนื่อมฯตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดฯ แล้ว และโดยผลแห่งกฎหมาย
ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕“
โดยมีข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมาย สรุปได้ว่า
นาง เนื่อม ชำนาญชาติศักดาได้ทำพินัยกรรม ณที่ว่าการอำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร
ว่า “ต้องการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินสองแปลงที่ตั้งอยู่ที่อําเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
เนื้อที่รวมกันประมาณ๙๒๔ไร่ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหาร”
ซึ่งข้อเท็จริงปรากฏว่านับตั้งแต่เมื่อนางเนื่อมฯเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๔ วัดฯ ได้เก็บผลประโยชน์จากที่ดินโดยเก็บค่าเช่าทํานามาโดยตลอดไม่ปรากฏว่าวัดฯได้ทําหนังสือแสดงเจตนาสละมรดกที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด ”
*ดังนั้นที่ดินตามพินัยกรรมของ นางเนื่อม จึงตกเป็นกรรมสิทธิของวัดแล้วตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และผลทางกฎหมายคือ *ที่ดินมรดก924ไร่ ของนางเนื่อมฯตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดฯตามกฎหมายแล้ว ตั้งแต่นางเนื่องถึงแก่กรรม
*ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามกฎหมาย มาตรา ๓๓( ๒)แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
คำถามในประเด็นที่สอง :ที่ดินทั้งสองแปลงที่นางเนื่อมฯได้ทําพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดฯ ผู้จัดการมรดกจะนําที่ดินดังกล่าวไปจําหน่ายจ่ายโอนได้หรือไม่?
@ คณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่) มีความเห็นว่า
“นางเนื่อมฯ สั่งไว้ในพินัยกรรม ยกที่ดินให้แก่วัตธรรรมิการามวรวิหาร
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม จึงชอบเพียงแค่จัดการจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินมรดกให้แก่วัดฯผู้รับมรดกตามพินัยกรรมเท่านัั้น
*จะโอนให้แก่บุคคลอื่นที่พินัยกรรมมิได้ระบุให้เป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้“
โดยมีข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายสรุปได้ว่า
ศาลแพ่งมีคําสั่งเมื่อวันที่๑๑ สิงหาคม๒๕๓ แต่งตั้งมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
เป็นผู้จัดการมรดก แทนผู้จัดการมรดกเดิมที่ถอนตัวและถึงแก่กรรม
ในวันที่ ๒๑สิงหาคม ๒๕๓๓ กรมที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกให้แก่มูลนิธิฯ
ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่หลังจากมูลนิธิได้รับโอนที่ดินแล้วไปให้แก่บริษัทอัล
ไพน์เรียลเอสเตท จำกัดและบริษัทอัลไพน์กอล์ฟ แอนด์สปอร์คลับจำกัดในวันเดียวกัน
จึงมีประเด็นว่า มูลนิธิฯในฐานะผู้จัดการมรดกได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่) ได้พิจารณาว่า มาตรา๑๗๑๙° แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กําหนดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไว้ว่าให้ทำการตามจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคําสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จึงเห็นได้ว่าเมื่อเจ้ามรดก ได้ทําพินัยกรรมสั่งความไว้เป็นประการใดผู้จัดการมรดกย่อมต้องจัดการไปตามคําสั่งนั้น จะจัดการนอกเหนือคำสั่งในพินัยกรรมไม่ได้ ในกรณีนี้ *นางเนื่อมฯได้สั่งไว้ในพินัยกรรมว่า ยกให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารทั้ง2แปลง 924 ไร่ ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม คือ มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงชอบแต่เพียงต้องจัดการจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินมรดกให้แก่วัดธรรมิการามตามพินัยกรรมเท่านั้น จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้*
ในตอนท้ายของบันทึกความเห็นที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว
ที่ลงนามโดย นาย ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังชัดเจนย้ำด้วยว่า “ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นมูลนิธิฯในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเนื่อม จึงต้องโอนที่ดินมรดกตามพินัยกรมที่ระบุให้ตกแก่วัดฯให้แก่วัดฯได้เท่านั้ นจะโอนให้แก่บุคคลอื่ น นอกเหนือจากวัดฯไม่ได้ ”
”การโอนที่ดินมรดกให้แก่บุคลอื่นอกเหนือจากบุคลที่ระบุให้เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมย์ของเจ้ามรดกซึ่งไม่ผูกพันทายาทและจะต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา๑๗๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ด้วย ”
ดังนั้นเมื่อปรากฎข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายชัดเจน ทั้งบันทึกความเห็นจากที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกา และจากคำพิพากษาในศาลอาญาทุจริตและศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ให้จำคุกนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย 2ปี รวมถึงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด แม้คดีดังกล่าวจะไม่มีคำพิพากษานายเสนาะ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากหลบหนีจนหมดอายุความ อย่างไรก็ดีในคำพิพากษายังยืนตามความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมใหญ่)ที่ต้องยึดมติครมพศ2482นั้น เป็นการยืนยันว่าคำสั่งของนายยงยุทธ รักษาปลัดกระทรวงมหาดไทยที่ไปเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินในขณะนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงขอเสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเห็นมายังนายกรัฐมนตรี
เพื่อโปรดพิจารณาสั่งการตามหน้าที่และอำนาจ ในการสั่งการแก้ไขให้โอนคืนที่ดิน924ไร่ ตามพินัยกรรมนางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา โอนคืนเป็นของวัดธรรมิการามและให้ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นโดยเร็วต่อไป
เรียนมาเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการ
สมชาย แสวงการ
อดีตสมาชิกวุฒิสภา
1 ตค 2567