เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาวันที่23กย2567 ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งร้องต่อศาลฎีกาให้เพิกถอนสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งของนายสมชาย เล่งหลัก สมาชิกวุฒิสภา
อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลาเขต 9 ถูกตัดสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง 10 ปี ซึ่งทำให้มีลักษณะต้องห้ามและขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกวุฒิสภาทันที
แต่ฟังการแถลงข่าวจากเลขา กกตแล้ว ฉงนใจมากครับ
จึงมาไล่เรียงลำดับดูtimeline และเกิดคำถามว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาข้อเท็จจริงใด หรือเป็นความพลาดพลั้ง ไม่ตั้งใจหรือตั้งใจ ที่ทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อแบบนี้กันแน่ ดังนี้ครับ
1) 13พค 66 ตำรวจภูธรหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมตรวจค้นจับกุม นายวินัย บัวทอง ผู้ถูกกล่าวหาที่2 ค้นภายในรถติดสติกเกอร์หาเสียง บัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนับร้อยคน และใบแนะนำตัวผู้สมัคร สส ขณะขนเงิน1แสนบาท เตรียมจ่ายในพื้นที่หลายตำบล
2)6 กพ 67 กกต.มีคำวินิจฉัยที่20/2567 ลงนามโดยประธานกกต. ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งของนายสมชาย เล่งหลัก อดีตผู้สมัครสส.ด้วยปรากฎหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ก่อ สนับสนุน หรือ รู้เห็นเป็นใจให้ผู้ถูกกล่าวหาที่2-3 จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน…เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตนเอง เป็นการทุจริตเลือกตั้ง
3)20พค-10 กค 67 กกต.รับรองให้นายสมชาย เล่งหลัก สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม19 ที่เลือกกันเองแบบตรงและแบบไขว้ ในระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ
และประกาศรับรอง เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่10กค 2567
4)9กค 67 ศาลฎีกา นัดตรวจพยานหลักฐาน ผู้แทนกกต ผู้ร้อง แถลงต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสมชาย เล่งหลัก อดีตผู้สมัครสส ผู้ได้รับเลือกเป็นสว ตามคำร้องกกต กล่าวหาว่า ทุจริตเลือกตั้งสส
5)23กย 67 ศาลฎีกามีคำพิพากษา ตามที่กกต ร้องขอสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง นายสมชาย เล่งหลัก สมาชิกวุฒิสภา เป็นเวลา10 ปี
6)28 กย 67 นายแสวง บุญมี เลขากกต แถลงว่า เรื่องนี้ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมาชิกภาพความเป็นสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลง โดยมี2 ทางเลือกคือ สส หรือสว 1ใน10 เข้าชื่อเสนอต่อประธานสภา เพื่อส่งศาลรธน หรือกกต เห็นเอง
ความเห็นส่วนตัวทางกฎหมายนับว่า ”เป็นตลกฝืดที่ ขำไม่ออก“ ครับ
เพราะคดีนี้กกตเป็นผู้วินิจฉัยเอง มีคำสั่งให้ร้องเอง และศาลฎีกาพิพากษาตัดสิทธิ10ปี
ตามที่กกตร้องขอแล้ว คือ
1)คำสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครเลือกตั้งนายสมชาย เล่งหลัก ทำให้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ขาดความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาทันที นับแต่ศาลมีคำพิพากษา
2)เรื่องนี้ กกต.ควรใช้อำนาจของตนเอง ตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่13พค 2567 ในการแจก
ใบส้ม” คือคำสั่งให้ “ระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครคนนั้นเป็นการชั่วคราวระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี” ตามพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2561 มาตรา 132 ที่กำหนดว่า
ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการสืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่า
มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดกระทําการอันเป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือ เที่ยงธรรม หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทํา สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้บุคคลอื่นกระทําการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทําดังกล่าวแล้วไม่ดําเนินการเพื่อระงับการกระทํานั้น ให้คณะกรรมการสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครที่กระทําการเช่นนั้นทุกรายไว้เป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำสั่ง
แต่คดีนี้เสียดายที่กกต.ไม่ได้มีคำสั่งเช่นนั้น จึงเกิดปัญหาตามมา คือ ปล่อยให้มีสิทธิ์
สมัครสว เข้าไปเลือกกันเองทั้งแบบตรงและแบบไขว้ ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ โดย กกตอ้างว่า ยังมีคุณสมบัติอยู่ ณ วันสมัครและวันเลือกกันเองของสมาชิกวุฒิสภา ทั้งๆที่ ปรากฎหลักฐานชัดเจนในการ จับกุมของตำรวจ และกกต สอบสวนเอง แล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า เป็นการทุจริตเลือกตั้ง สส สอดคล้องตามคำวินิจฉัยกกต วันที่ 6 กพ 2567 และคำเบิกความในฐานะผู้ร้องต่อศาลฎีกา เอง
3)เรื่องมาถึงขั้นนี้แล้ว กกต.มีหน้าที่ ต้องนำส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเอง
ไม่ควรโยนความรับผิดชอบให้สส สว เข้าชื่อ1ใน10 ยื่นผ่านประธานรัฐสภาเพื่อไปส่งศาลรัฐธรรมนูญ อีก เพราะ คดีนี้ กกตเห็นเอง มีมติเองว่าทุจริตเลือกตั้ง และส่งฟ้องศาลฎีกาให้เพิกถอนสิทธิเอง เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอให้แล้ว อย่าโยนภาระให้ใครอื่นอีกเลย
กกตมีหน้าที่
อย่าให้ศรีธนนชัยทางกฎหมายมีที่ยืนในสังคม
สมชาย แสวงการ
3 ตค 2567
วันที่ความยุติธรรมในบ้านเมืองเริ่มเลือนหาย
Cr.อ้างอิงข้อกฎหมายจากข่าว
กรณีสมาชิกภาพสมาชิกวุฒิสภาของ นายสมชาย เล่งหลัก มีข้อเท็จจริง ดังนี้
ในขณะที่มีการดำเนินการเลือก ส.ว. จนถึงขั้นตอนที่ กกต. ประกาศผลการเลือก ส.ว.
ณ เวลานั้น นายสมชาย เล่งหลัก ยังคงเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามในการรับเลือกเป็น ส.ว. ตาม รธน.มาตรา 108 และตาม พรป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. 2561 มาตรา 13 และมาตรา 14
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ศาลฎีกา มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของนายสมชาย เล่งหลัก จากมูลเหตุทุจริตในคราวที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สงขลา เขต 9 พรรคภูมิใจไทย
กรณีลักษณะต้องห้ามที่จะทำให้สมาชิกภาพของนายสมชาย เล่งหลัก สมาชิกวุฒิสภา
สิ้นสุดลงนั้น เพิ่งปรากฎภายหลังที่ กกต.ประกาศผล ส.ว. แล้ว
การดำเนินการในเรื่องนี้ จึงดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่หนึ่ง สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 มีสิทธิเข้าชื่อต่อ ประธานวุฒิสภา ว่าสมาชิกภาพของ ส.ว. สมชายฯ สิ้นสุดลงตาม รธน.มาตรา 111 (4) ” ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม รธน.มาตรา 108 ” แล้วให้ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องนั้นไปยังศาล รธน.เพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ ตาม รธน.มาตรา 82 วรรคหนึ่ง
แนวทางที่สอง กรณีที่ กกต. เห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตาม รธน.มาตรา 82 วรรคหนึ่ง ก็ให้ส่งเรื่องไปให้ศาล รธน.เพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย ตาม รธน. มาตรา 82 วรรคสึ่ หรือดำเนินการส่งคำร้องให้ศาล รธน.ตาม พรป. ว่าด้วย
การได้มาซึ่ง ส.ว. 2561 มาตรา 63