………;……………;……########………………………………
โดย ดร สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและเป็นอาจารย์สอบวิทยานิพนธ์ และค้นคว้าอิสระให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
“ศึกษาการบริหารองค์กรสภาทนายความ “ความเหลี่อมล้ำเสื่อมความสามัคคี”
ความเป็นมาของสภาพปัญหา สภาทนายความ เป็นองค์กรปกครองตนเอง ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ มีสมาชิกส่วนมาก 95% เป็นทนายความ
หลักการสำคัญ คือวัตถุประสงค์สภาทนายความ ที่ต้องส่งเสริมความสามัคคี/ผดุงเกียรติศักดิ์วิชาชีพ และควบคุมมรรยาททนายความ ไม่ใช่การเฝ้าดูว่า จะวิวาทกับสมาชิกด้วยกัน และจ้องจะหาเหตุเพื่อลงโทษสมาชิกเพื่อเอาใจคนนอก
สภาทนายและกรรมการทุจริตสมาชิกสภาทนายความถามนายกมาจะข้ามปีไม่มีคำตอบ ? ยิ่งอยู่ไปนานวัน คณะกรรมการแตกแยกเป็น 2-3 ฝ่ายให้เห็นเป็นประจักษ์กรรมการสภาทนายความไม่เดินตามรูปแบบเพื่อเป็นหลักประกันแก่สมาชิก ไม่มีความสามัคคี ทำให้องค์สภาทนายความขาดความน่าเชื่อถือ
การดำเนินกิจการสภาทนายที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์สร้างความเหลื่อมล้ำเสียแก่องค์กรผู้บริหารไม่กล้าหาญพอที่จะใช้อำนาจนำพาองค์กรให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ และนำไปสู่ความเจริญในทางกฏหมาย จ้องแต่ปกป้องผลประโยชน์แก่พวกพ้องตนเอง
อย่างกรณีคดีจัดการมรดก สภาทนายความต้องมีบทบาท ให้แก่เพื่อนสมาชิกทนายความ คดีมรกดกมาตรา 1713 เป็นคดีสิทธิในครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นกฏหมายโดยเฉพาะอัยการไม่สามารถทำได้เลย
แต่เหตุที่อัยการและศาลจะต้องมาให้เจ้าพนักงานจัดการมรดก ให้กับผู้ยากไร้ สภาทนายความไม่เคยต่อสู้ เพื่อสมาชิกทนายความ ยังไร้ชึ่งความสามารถที่จะปกป้อง สภาพผู้ยากไร้ไม่สามารถพึ่งสภาทนายความได้
จึงต้องไปพึ่งอัยการและเจ้าพนักงานศาล นำพาอาชีพทนายความไปสู่ความตกต่ำ องค์กรสภาทนายความเดินถอยหลังไปสู่ความเหลื่อมล้ำเสื่อมความสามัคคีอาชีพหลักของประชาชนไม่สามารถปกป้องได้
กรณีจึงไม่ใช่เงื่อนไขของพนักงานอัยการตามกฎหมายที่จะมีอำนาจทำได้ ในการแย่งอาชีพทนายความ จึงไม่ใช่หน้าที่พนักงานอัยการ แต่ที่พนักงานอัยการต้องทำหน้าที่ สภาทนายความไม่ใส่ใจที่จะแก้ไข้ปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นกรณีศึกษา
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม