………………#######…………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและเป็นอาจารย์สอบวิทยานิพนธ์ และค้นคว้าอิสระให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โลกออนไลน์เป็นโลกที่จะแสดงความคิดเห็น โพสต์หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ แต่ความเป็นอิสระนี้ก็ใช่ว่าจะไร้กรอบกติกา เนื่องจากคนบนโลกออนไลน์นั้น มีตัวตนอยู่จริง เป็นคนเหมือน ๆ กัน ที่มีความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก ที่อาจจะเหมือนเรา คล้ายเรา หรือแตกต่างจากเรา
การโพสต์โดยไม่คิดไตร่ตรอง อาจส่งผลให้เขาได้รับผลกระทบจากเนื้อหาเรื่องราว ข้อคิดเห็น หรือคำด่าทอเสียดสีต่าง ๆ จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของผู้โพสต์ ผู้แชร์ หรือผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือคอมเมนต์ก็ตาม
การนินทาคนอื่นลงในไลน์กลุ่ม อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
การโพสต์เฟสบุคด่าคนอื่น,ประจานเมียน้อย,ประจานลูกหนี้,ทวงถามหนี้ลูกหนี้ผ่านทางเฟสบุค ระบุชื่อ-นามสกุล ลงรูป โดยมีลักษณะเป็นการเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชน หรือประชาชนทั่ว เป็นความผิดอาญา ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
การทวงถามหนี้ลูกหนี้ทางเฟสบุค จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ตามมาตรา11 (3) ที่บัญญัติว่า ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะการแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ ซึ่งมีโทษตามมาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
ดังนั้น ก่อนจะโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลใด ๆ ให้คิดให้หนัก หรือหากเป็นการแชร์ของคนอื่นก็ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นข้อมูลความจริงหรือไม่ กระทบหรือไปละเมิดสิทธิคนอื่น ทำให้เขาเสียหายหรือไม่ มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายใดหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่แน่ใจ ให้งดโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลนั้น ๆ ดีกว่า
ที่มา : กระทรวงยุติธรรม ,ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 พระราชบัญญัติทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11 (3) และมาตรา 39
คำพิพากษาฎีกา 5276/2562
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 ต้องเป็นการใส่ความระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโพสท์นิวส์ออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคล ซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328
การโพสต์ข้อความหรือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ภายใต้กฎหมาย หรือ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
แต่หากเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนจนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการโพสต์ข้อความของท่าน ก็อาจจะดำเนินคดีท่านได้นะครับ
จำเลยด่าโจทก์ว่า "เป็นคนจัญไร" ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายไว้ว่า "เลวทราม เป็นเสนียด ไม่เป็นมงคล" อันเป็นถ้อยคำรุนแรง ...
เป็นการใช้สิทธิเกินส่วนจนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ เทียบเคียงฎีกาที่ 7301/2559
ดังนั้นทนายความ จึงมีหน้าที่ไปรับการคุ้มครองเฉพาะในศาลที่เป็นคู่ความตามที่กฏหมายกำหนด หากด่าในศาลว่า “คนจังไร” อาจมีความผิดฐานประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวนศาล
ถ้าทนายกล่าวข้อความดังกล่าวเป็นการด่า นอกศาลจึงไม่ใช่หน้าที่ทนายความที่จะกระทำได้
“ทนายความจึงไม่สามารถเป็นตัวความ” เที้ยวไปด่าประจานคนอื่น ในลักษณะด้วยค่าคนอื่น จึงเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนจนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ได้ ไม่ใช่ทนายความจะทำอะไรก็ได้
นอกจากจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ยังมีความผิดมรรยาททนายความด้วย
ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม