ข่าวประจำวัน » ช็อคแรง !! รัฐแจกเงินหมื่นเดี้ยงสูญกว่า 1.4 แสนล้านบาท กลับไม่มีผลฟื้นเศรษฐกิจไทย

ช็อคแรง !! รัฐแจกเงินหมื่นเดี้ยงสูญกว่า 1.4 แสนล้านบาท กลับไม่มีผลฟื้นเศรษฐกิจไทย

6 February 2025
51   0

.

เพจ Btimes ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

พายุเดี้ยง! เคเคพี ชี้แจกรัฐเงินหมื่นกลับไม่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยชัดเจน กว่า 12% กลับเอาไปใช้หนี้ ใช้จ่ายเงินนอกระบบเศรษฐกิจ
เคเคพี รีเสิร์ช(KKP Research) ซึ่งเป็นสำนักวิจัยในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ต่ำลงในปี 2024 ไม่เพียงเกิดจากปัจจัยลบที่มากดดัน แต่เกิดจากปัจจัยบวกไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากเท่ากับที่คาดหวัง เมื่อพิจารณาปัจจัยบวก จะพบว่ามีแรงส่งน้อยกว่าคาด โดยเฉพาะมาตรการการแจกเงินของรัฐบาลแต่เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้น
ในช่วงปลายเดือนกันยายนปี 2567 รัฐบาลมีการดำเนินมาตรการดิจิตอล วอลเล็ต หรือ Digital Wallet ด้วยการแจกเงินจำนวน 10,000 บาท ให้กับกลุ่มปราะบาง คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 140,000 ล้านบาท หรือประมาณ 0.7% ของมูลค่าเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการบริโภคในไตรมาส 4 ของปีผ่านไปนั้น ในภาพรวมมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับการบริโภคในช่วง 3 ไตรมาสแรก นั่นหมายถึงการแจกเงินแทบไม่มีผลต่อการบริโภคภาคเอกชนไทยเลย
สำนักวิจัย KKP Research เคยคาดการณ์ว่าตัวคูณทางเศรษฐกิจจากการแจกเงินในภาวะเศรษฐกิจปกติจะอยู่ในระดับต่ำ บนหลักการประเมินที่ว่าจำนวนเงินที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคใหม่คิดเป็นไม่ถึง 10% ของเงินที่แจกไป โดยมี 3 สาเหตุสำคัญ ได้แก่ เงินที่ได้รับไปไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายใหม่ในระบบเศรษฐกิจ ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างของสำนักงานสถิติพบว่าคนสัดส่วนประมาณ 12.8% นำเงินที่ได้รับไปใช้เพื่อชำระหนี้ การใช้จ่ายในสินค้าส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายไปกับสินค้าจำเป็นที่มีการใช้จ่ายเดิมอยู่แล้ว อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ในครัวเรือน และการชำระค่าสาธารณูปโภค
ปัจจัยต่อมา คือ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายบางส่วนอาจเก็บเงินที่ได้รับเป็นเงินออม การใช้จ่ายส่วนหนึ่งอาจเป็นการใช้จ่ายในเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Sectors) ช่องทางที่มีการนำไปใช้จ่ายมากที่สุด คือ ร้านค้าในชุมชน และหาบเร่แผงลอยเป็นหลัก ทำให้การวัดผลของนโยบายต่อเศรษฐกิจทำได้ยากข้อมูลจาก World Bank ชี้ไทยมีขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่ถึงประมาณ 45% ของจีดีพีเป็นลำดับที่ 8 ของโลก
และปัจจัยเศรษฐกิจอื่น ๆ ยังอยู่ในทิศทางขาลงไม่สนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน KKP Research ประเมินว่าทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัวจาก 1) สินเชื่อภาคธนาคารหดตัว 2) รายได้ของครัวเรือนยังคงอ่อนแอ และ 3) หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยัง ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนของไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2568 โดยจะขยายตัวได้ที่ 2.3% ชะลอลงจาก 4.2% ในปี 2567 โดยเฉพาะกลุ่มการบริโภคสินค้าคงทนที่จะยังหดตัวลงต่อไป
นับตั้งแต่หลังวิกฤติการระบาดของโควิด -19 เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้ช้าและต่ำกว่าระดับศักยภาพ การเติบโตที่แตกต่างกันมากในแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจำกัดอยู่เพียงกลุ่ม ขณะที่หลายกลุ่มโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมอาจเรียกว่าอยู่ในภาวะถดถอย โดยเฉพาะในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา หลายฝ่ายหวังว่าแรงส่งทางบวกจะเอาชนะผลด้านลบโดย 3 ปัจจัยบวกที่สำคัญ การแจกเงินจากภาครัฐ การส่งออกที่เติบโตได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตได้ตามที่ประเมินไว้

พายุ #พายุหมุนเศรษฐกิจ #เงินหมื่น #แจกเงิน #เศรษฐกิจ #ไทย #BTimes