ข่าวประจำวัน » “เขาใหญ่” เขาใหญ่ธรรมชาติที่ไม่ได้มีดีแค่ชื่อ

“เขาใหญ่” เขาใหญ่ธรรมชาติที่ไม่ได้มีดีแค่ชื่อ

14 May 2017
578   0

เขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตรอบคลุม 11 อำเภอ ของ 4 จังหวัด คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา
อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาเย็นหรือ
ดงพญาไฟในอดีตประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของ ต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามมีเนื้อที่ 1,353,471.53 ไร่
หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา

เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ราษฎรบ้านท่าด่านและบ้านท่าชัย จังหวัดนครนายก ได้บุกรุกถางป่าปลูกพริกปลูกข้าวบนเขาใหญ่ และจับจองพื้นที่
สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บนเขาใหญ่ ประมาณ 30 หลังคาเรือน ต่อมาได้พัฒนายกฐานะเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่กับอำเภอปากพลี ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า
ทำไร่เลื่อนลอยเพิ่มขึ้นเรื่อย ต่อมากลายเป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้าย และผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญาอยู่เนืองๆ เพราะการคมนาคมยากลำบากห่างไกลแหล่ง
ชุมชนอื่นๆ ยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการในสมัยนั้นจึงยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้านและไร่ที่
ทำกินบริเวณป่าเขาใหญ่จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษา
ธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้ให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมมือและประสานงานกันเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี
ได้มีมติการการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัด
ต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้เริ่มเตรียมการและวางแผนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก DR.GORE C.RUHLE ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จากประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจและวางแผนสำเร็จลงแล้ว จึงดำเนินการประกาศจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา
กำหนดบริเวณ ที่ดินป่าเขาใหญ่ในท้องที่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี ตำบลสาริกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมณี
อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา และตำบลหมวกเหล็ก ตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79
ตอนที่ 86 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตาราง กิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย
และได้รับสมญานามว่าเป็น “ อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ” ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญของโลก

ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือ ที่ กษ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานี
เรดาร์และสถานีถ่ายทดโทรคมนาคม ออกจากพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ ์
2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก
จังหวัดนครนายก ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรือ 0.1149 ตารางกิโลเมตร

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในท้องที่อำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เนื้อที่ 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรือ 3.807 ตารางกิโลเมตร เพื่อก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดแหล่งเก็บ
กักน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูกร่วมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายก เป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้
ทำการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ จึงได้มี พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ป่าเขาใหญ่บางส่วนในท้องที่ตำบลหินลาด
อำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 119ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542

ลักษณะภูมิประ
สภาพทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลาง
แล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็น ยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร
เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขาสันกำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้ว สูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบ
ด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลดลงทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิด
ต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สายได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรม
และระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย ห้วยลำตะคอง
และห้วยลำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของ
ภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอกทั้งปีและให้ประโยชน์ทาง ด้านการเกษตร
โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก

ลักษณะภูมิอากาศ

ด้วยสภาพป่าที่รกทึบและได้รับอิทธิพลจากมรสุม ทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไปจัดอยู่ในประเภทเย็นสบาย
ตลอดทั้งปีเหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 C ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่า
ในที่อื่นแต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำในลำธาร และนำอาหารไปรับประทาน ฤดูฝนเป็นช่วงหนึ่งที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้
ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อย
ลงเลย ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นิยมไป เขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอย
เอื่อยไปตาม ทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่จะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไป
จากเมื่อวานอีกแบบหนึ่ง

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแบ่งออกๆ ได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ้งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเลประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น
มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ช้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟ
ลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไป

ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบนได้แก่ ยางนา พันจำ
เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียน หิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ๙ก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น
เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และ ลานพืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่าและเตย เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง แต่จะมีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่
เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปาย
และยางควนนอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน

ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้
วงศ์ยางขึ้นอยู่ขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ ละสนนามพันปี และก่อชนิดต่างๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและ
ก่อต่าง ๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ
เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำหลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน

ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่ เลื่อนลอยในอดีตก่อนมีการจัดตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎร
อาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคา เสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม
หญ้าขนตาช้าง เลา และตอกง และยังมีกุดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โชนใหญ่ กูดปี้ด โชนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง

เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่การป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้ามีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้าหรือป่าเหล่านี้
จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย ดังนั้นจึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธุ์กระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูนป่า เลี่ยน ปอหู ตองแตบ ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าทุ้งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไป ตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตาม
ทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน บริเวณตั้งแต่ที่ชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางข้ามสะพานหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบัน
ถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลาช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน จากการศึกษา
ตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่าและการจัดการพื้นที่ป้องกัน( EELEPHANT CONSERVATION AND PROTECTED AREA MANAGEMENT )
โดย MR.ROBERT J. DOBIAS ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี พ.ศ.2527-2528 พบว่ามีจำนวนประมาณ 250 เชือก

สัตว์ป่าที่สามรถพบได้บ่อย ๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวางป่า ตามทุ่งหญ้าทั่ว ๆไป นอกจากนี่ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น
ชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่
ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกเงือกน้ำตาล นกขุนทอง จกขุนแผน นกพญาไฟ
นกแต้วแล้วนกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบแมลงมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อยได้แก่
ผีเสื้อมีรายงานพบวา 216 ชนิด

เมื่อเดินทางไปถึงอุทยาแห่งชาติเขาใหญ่ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูล ชมนิทรรศการ เป็นทางเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผน เดินทางท่องเที่ยว
ตามสถานที่ต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญนั้นก็คือ
น้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตกน้อยใหญ่เกิดขึ้น หลายแห่งในพื้นที่อุทบยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งสำรวจพบและทำเส้นทางเดินเท้าไปถึงแล้วประมาณ 30 แห่ง
ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป ตามสภาพธรรมชาติของภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก โดยใช้ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3099 จากจังหวัดนครนายก ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 11 มีทางแยก ให้ตรงไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 304 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสาริกา น้ำตกสาลิกาไหลตกมาจากหน้าผาสูงชันประมาณ 100 เมตร มีแอ่งน้ำให้เล่นได้ตั้งแต่น้ำตกชั้นล่าง เป็นต้นไป

น้ำตกนางรอง อยู่ถัดจากทางแยกเข้าน้ำตกสาลิกาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 304 จนถึงทางเข้าน้ำตก แล้วเดินเลียบห้วยนางรองไปอีก 250 เมตร จะมีสะพานข้ามห้วยไปถึงน้ำตกซึ่งไหลหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร น้ำตกนางรองแต่ละชั้นไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำไหลแรง

น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสมสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนข้ามลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแหล่งนี้อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 100 เมตร

น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า ทางเดินเริ่มจากจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้ไปประมร 1.2 กิโลเมตร โดยเดินเลียบตามห้วยลำตะคองที่เต็มไป ด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม มีโอกาสพบนกหลายชนิด เช่น นกกางเขนน้ำหลังเทา นกกระรางคอดำ นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ ฯลฯ น้ำตกผากกล้วยไม้มีลักษณะเป็นหน้าผาลดหลั่นกันลงมา สูงประมาร 10 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างมาก เหมาะสมสำหรับเล่นน้ำ ตามหน้าผาและคบไม้บริเวณน้ำตก พบกล้วยไม้นานาชนิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก กล้วยไม้ที่โดดเด่นที่สุด คือ หวายแดง ที่จะออกดอกสีแดงเป็นช่อยาวในช่วงหน้าร้อน

น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป น้ำตกเหวสุวัตนี้ อยู่สุด ถนนธนะรัชต์ หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากกล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็น สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาร 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรง น้ำค่อนข้างเย็นจัด

น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุด อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาร 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่ง
ไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะการไหลตก 90 ? รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง ในฤดูฝนน้ำ
จะไหลแรงมากจนน่ากลัว ทางเข้าน้ำตกเหวนรกอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 24 บนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3077 จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร จึงจะถึงน้ำตก เหวนรกชั้นบนสุดและมีบันไดให้ไต่ลงไปประมาณ 100 เมตร เพื่อชมน้ำตกชั้นล่าง

น้ำตกไม้ปล้อง เป็นน้ำตกที่มีทั้งหมด 5 ชั้น ไหลลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุกไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวสุวัต จะพบความงามตลอดเส้นทางเดินเท้า ประกอบด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธาร ที่สวยงาม การเดินทางไปยังน้ำตกแห่งนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ โดยการเดินทางตาเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร

น้ำตกวังเหว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ในฤดูฝนมีน้ำมาก และไหลแรง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่) ประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ในกลางป่าทางด้านทิศตะวันอกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การเดินทางจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 วัน เหมาะสมสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยไปพักค้างแรมในป่าเป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาของการเดินทางจะพบหับพันธุ์ไม้นานาชนิด และแก่งหินที่สวยงามตามธรรมชาติ นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได น้ำตำส้มป่อย เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสมสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ

น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ไหลมาตามลานหินกว้างเป็นทางยาว จากนั้นสายน้ำจะไหลผ่านช่องเขาแคบที่ขนาบข้างก่อนตกลงเป็นน้ำตกสูง 5 เมตร จากน้ำตกธารทิพย์มีทางเดินป่าไปอีกื4 กิโลเมตร ถึง น้ำตกเหวอีอ่ำ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งมีความสูงประมาณ 25 เมตร ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม)

น้ำตกแก่งกฤษณา และน้ำตกเหวจั๊กจั่น เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีความงดงาม ไม่แพ้แห่งอื่นๆ เหมาะสมสำหรับการพักแรมในป่าและชมทิวทัศน์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลินใจ

น้ำตกผากกระชาย น้ำตกผาไทร ผาด่านช้าง และน้ำตกผานะนาวยักษ์ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเด้ ลักษณะไหลลาดไปตามผาหินที่สูงขึ้น เหมาะสมสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.3(ตะเคียนงาม) ประมาณ 5 กิโลเมตร

น้ำตกเหวไทร เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ทางใต้ถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ห่างจากน้ำตกเหวสุวัตมาประมาณ 700 เมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นผากว้างเต็มลำห้วย สูงประมาณ 5 เมตรในฤดูฝนน้ำตกนี้จะไหลแรงเต็มหน้าผาสวยงามน่าชมมาก การเดินทางไปน้ำตกเหวไทรไปได้ 2 เส้นทาง คือ เดินเท้าต่อไปจากเหวสุวัตระยะทางประมาณ 700 เมตร หรือจะเดินจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ไปตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัตก็ได้ ระยะทางประมาณ 8.3 กม. ตามสองข้างทางเดินที่ผ่านไปจะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สมุนไพร และเห็ดป่า เป็นต้น

น้ำตกเหวประทุน เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งหนึ่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ สามารถเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินทางเส้นกองแก้วเหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถพบร่องรอยของสัตว์ป่าได้ง่าย เช่น รอยหมูป่า ด่านช้าง น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างและสูงสวยวามมาก

น้ำตกตาดตาภู่ น้ำตกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เกิดจากห้วยระย้าเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลาดหินที่มีน้ำไหลลดหลั่นเป็นทอดลาดเอียงไป
ข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักค้างแรมในป่าระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆ น้ำตกจะมีทุ้งหญ้าสลับกับป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำ ได้แก่ เก้ง กวางป่า ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

น้ำตกตาดตาคง เป็นน้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด้านหลังจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติ ก็ได้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือ จะเริ่มที่ กม. 5.5 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

กลุ่มน้ำตกผาตะแบก น้ำตกกลุ่มนี้เป็นน้ำตกขนาดไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือ น้ำตกผากระจาย และเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตก ผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสินประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

แก่งหินเพิง เป็นแก่งหินที่มีความยาวและใหญ่ อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่๗ ประมาณ 3 กิโลเมตร แม่น้ำใสใหญ่ในบริเวณนี้เต็มไปด้วยแก่งหินเรียงรายตลอดระยะทาง 2.5 กิโลเมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันคล้ายขั้นบันได เป็นสถานที่ที่เหมาะในการล่องแก่งด้วยเรือยาง

สำนัีกข่าว vihoknews