ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » ​แฉ  เอกสารลับแฉ! KUใช้สงครามอิรัก-คูเวต เพิ่มยอดขายอาวุธ

​แฉ  เอกสารลับแฉ! KUใช้สงครามอิรัก-คูเวต เพิ่มยอดขายอาวุธ

13 August 2017
611   0

          สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหราชอาณาจักร เผยแพร่เอกสารซึ่งผ่านการยกเลิกสถานะเป็นความลับแล้ว แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยูเคฉวยโอกาสใช้การที่อิรักบุกคูเวตเมื่อปี 2533 ในการเพิ่มยอดขายอาวุธในประเทศ…

         ไทยรัฐ-สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างข้อมูลจากเอกสารลับที่ได้รับการเปิดเผยโดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหราชอาณาจักร (ยูเค) ว่า รัฐบาลยูเคมองการรุกรานคูเวตของอิรักเมื่อปี 2533 ว่าเป็นโอกาสดีที่สุดในการขายอาวุธในประเทศอ่าวเปอร์เซีย และฉวยโอกาสนี้ในการช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดการค้าอาวุธ
           เอกสารดังกล่าวรวมไปถึงจอดหมายซึ่งเป็นความลับจากนายอลัน คลาร์ก รัฐมนตรีฝ่ายจัดซื้อยุทโธปกรณ์กองทัพยูเคในสมัยนั้นถึงนางมากาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรียูเคในยุคนั้น ไม่กี่วันหลังจากที่ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักยกกองทัพบุกคูเวตเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ปี 2533
          นายคลาร์กบอกกับนางแทตเชอร์ว่า “ไม่ว่าจะออกนโยบายอะไรก็ตาม เราต้องเน้นย้ำว่า นี่เป็นโอกาสดีที่สุดสำหรับองค์การบริการส่งออกทางกลาโหม (DESO หน่วยงานในกระทรวงกลาโหมยูเค ส่งเสริมการส่งออกอาวุธของบริษัทผู้ผลิตอาวุธ/ปัจจุบันคือ DSO) ทั้งการสาธิตด้วยกระสุนจริงและการทดลองใช้จริง”
       มากาเร็ต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

       ในช่วงท้ายของเอกสาร นายคลาร์ก ระบุด้วยว่า “ผมได้เขียนประมาณการยอดขายอาวุธในช่วงไม่นานมานี้ตอนเริ่มเกิดวิกฤติเอาไว้แล้ว และเรื่องนี้น่าจะเกิดขึ้นและมีปริมาณเพิ่มขึ้นหากเราทำงานในส่วนของเรา” ขณะเดียวกันเอกสารอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นว่า นายคลาร์กใช้การพบปะกับผู้ครองประเทศกาตาร์ และกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมบาห์เรนในการผลักดันการส่งออกอาวุธ ทั้งยังระบุว่ามีความเป็นได้ที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, อียิปต์ และจอร์แดน จะมาเป็นลูกค้าด้วย
       ขณะที่เมโมฉบับหนึ่งเป็นข้อความของนายชาร์ลส์ โพเวล ที่ปรึกษาส่วนตัวของนางแทตเชอร์ บอกกับนายคลาร์กว่า ให้เขาใช้การเดินทางเข้าพบผู้นำประเทศอ่าวเปอร์เซียของเขาเพื่อแสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และดีกว่าฝรั่งเศส ซึ่งเป็นคู่แข่งในตลาดค้าอาวุธด้วย
       ทั้งนี้ การบุกคูเวตของอิรักเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าวเปอร์เซียซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 28 ก.พ. ปี 2534 โดยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขายอาวุธในภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ และเป็นช่วยบ่มเพาะความสัมพันธ์อันเข้มแข็งระหว่างชาติผู้ซื้อกับผู้ขาย
        ตามรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของ องค์การความมั่นคงและกลาโหม (DSO) ของรัฐสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่า ยูเคทำข้อตกลงขายอาวุธได้มูลค่ากว่า 6 พันล้านปอนด์ (ราว 2.59 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2559 คิดเป็น 9% ของตลาดผู้ขายอาวุธโลก โดยกว่าครึ่งเป็นการขายอาวุธในตะวันออกกลาง ขณะที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ยูเคเป็นผู้ค้าอาวุธอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น.
https://www.thairath.co.th/content/1036520#cxrecs_s

สำนักข่าววิหคนิวส์