ชื่อ วัดมหาธาตุที่ตั้ง เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2
ประวัติ แก้ไข
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่แน่ชัด บางบอกปี พ.ศ. 1917 บางบอกปี พ.ศ. 1927 อย่างไรก็ตาม ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดเดิมสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิมในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำกำลังทหารไปช่วยกันสร้างยอดพระปรางค์ด้วยไม้สักและได้สถาปนาให้เป็นพระปรางค์ประจำชาติ และพระปรางค์วัดมหาธาตุก็ยังคงอยู่ที่นั้นตลอด
สิ่งก่อสร้าง แก้ไข
พระปรางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ รูปเหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่รายล้อมอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล
เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก ซึ่งเจดีย์องค์นี้จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
วิหารที่ฐานชุกชี ของพระประธานในวิหาร กรมศิลปากรพบว่ามีผู้ลักลอบขุดลงไปลึกถึง 2 เมตร จึงดำเนินการขุดต่อไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบารูปต่างๆ
วิหารเล็ก วิหารเล็กแห่งนี้ มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้
พระปรางค์ขนาดกลางภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
ตำหนักพระสังฆราช บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศตะวันตก เคยเป็นที่ตั้งพระตำหนักพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสี ราชทูตลังกาได้เล่าไว้ว่า เป็นตำหนักที่สลักลวดลายปิดทอง มีม่านปักทอง พื้นปูพรม มีขวดปักดอกไม้เรียงรายเป็นแถวเพดานแขวนอัจกลับ (โคม) มีบังลังก์ 2 แห่ง
ที่มา/ข้อมูล https://th.m.wikipedia.org
เผด็จ เกษียรจังหรีด สำนักข่าว vihok news รายงาน