ปัจจุบันในรั้ววังยังมีกฎมณเฑียรบาลที่น่าสนใจอยู่หลายข้อ ซึ่งที่จะขอยกมานี้จะเกี่ยวข้องกับ การเกิดและการตายภายในพระบรมหาราชวัง ซึ่งกฏมณเฑียรบาลนี้ยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน คือห้ามมิให้ผู้ใดมาเกิดภายในพระบรมหาราชวัง ยกเว้นพระราชโอรส-ธิดาของพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น และห้ามมิให้ผู้ใดตายในพระบรมมหาราชวัง ยกเว้นพระเจ้าอยู่หัว พระมเหสีและพระราชโอรส-ธิดาโดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ใดทั้งนั้น เพราะถือว่าพระบรมมหาราชวังเป็นเขตพระราชฐานที่บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ มีการทำพิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพยาดาต่างๆเข้ามาสิงสถิตภายในพระบรมหาราชวัง เสมือนราชองครักษ์ที่คอยปกปักรักษาถวายความปลอดภัยองค์สมมุติเทพ
” ดังนั้นพระบรมหาราชวังถ้าจะพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือบ้านของพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง ”
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเกิดหรือการตายก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุให้มีโลหิตตกต้องพระบรมมหาราชวัง
เมื่อเป็นเช่นนี้ในอดีตเจ้าพนักงาน ข้าหลวงฝ่ายในหากท้องได้5เดือนแล้วจะต้องทูลลาออกจากวังหลวงทันที หรือหากพบว่าป่วยหนัก ชราภาพมากก็จะต้องทูลลาออกจากวังหลวงในทันทีเช่นกัน หากมีการเกิดและการตาย เกิดขึ้นภายในวังหลวงแล้วจะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่จะต้องมีพิธีทางไสยศาสตร์ใหญ่โตเลยทีเดียว โดยพิธีนี้มีชื่อว่า”พิธีกลบบัตรสุมเพลิง” โดยพราหมณ์ในราชสำนักเป็นผู้ทำพิธี เพื่อเป็นการแก้เสนียดจัญไรหรืออัปมงคล เพื่อเป็นการถอดถอนดวงวิญญาณของผู้ตายที่สิงสถิตอยู่ให้ออกไปจากเขตวังหลวง
จดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่4 กล่าวถึงเรื่องการกลบบัตรสุมเพลิงไว้ว่า การวิวาทตบตีฟันแทงกันจนตายให้โลหิตตกในพระราชวังก็ดี แลหญิงสาวใช้ทาสผู้ใดคลอดแท้งลูกในพระราชวังก็ดี ให้ตั้งโรงพิธี4 ประตู บายศรี4สำรับ ไก่ประตูละคู่ โยงด้ายให้รอบพระบรมหาราชวัง นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์3วัน ให้มีระบำ พิณพาทย์ ฆ้อง กลอง ดุริยางค์ประโคมทั้ง4ประตู ครั้นเสร็จพิธีแล้วให้จัดมหรสพ วงละครเสีย ให้เอาไก่นั้นไปปล่อยนอกกำแพงเมือง ให้มันพาเสนียด จัญไร ภัย อุบาทว์ ชั่ว ไปพ้นพระนคร
ตัวอย่างการตายของสามัญชนตามจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่6 ตอนหนึ่งที่ว่าเวลา 2.00เป็นเวลาฝนตก นายจ่าตรีเขียนจากกรมยุทธศึกษาทหารเรือ เดินเลียบกำแพงวังเข้ามาเกรงว่าตนจะเปียกฝนจึงถอดเครื่องแบบออกแล้วเข้าไปหลบอยู่ใกล้ซุ้มประตูสวัสดิโสภา แต่บังเอิญฟ้าผ่าลงมาที่ซุ้มประตูนั้นจนแตกออกเป็น3เสี่ยง บางส่วนตกลงมาทับจ่าเขียนจนตายรุ่งขึ้น เวลา6.00พราหมณ์ได้ตั้งพิธีกลบบัตรสุมเพลิงที่หน้า ประตูสวัสดิโสภา ตามประเพณี ณ วันนี้ที่12พฤษภาคม พ.ศ.2462
เมื่อพูดถึงการคลอดลูกแล้ว คงหนีไม่พ้นพระมเหสีเทวี พระสนมและเจ้าจอม ซึ่งหากเจ้าจอมมารดาท่านใดมีทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดาก็ถือว่ามีบุญวาสนามาก เพราะเมื่อแก่เฒ่าก็ไม่ต้องกลับไปอยู่บ้านที่จากมานาน แต่สามารถไปอยู่กับพระราชโอรสที่นอกวังหลวงได้ เพราะพระราชโอรสองค์ใดเติบโตทำราชการได้แล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็จะพระราชทานวังให้อยู่กับครอบครัวเป้นหลักเป็นฐานนอกกำแพงวัง เช่นในภาพคือ เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม สุจริตกุล ที่มีทั้งพระราชโอรส-ธิดาถวายรัชกาลที่4 เมื่อชราภาพแล้วก็ไปออยู่วังข้างนอกกับ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ต้นราชสกุล เทวกุล ผู้เป็นลูกชายได้ วันใดอยากเข้าไปเยี่ยมลูกสาวและหลานๆในวังหลวงเป็นนการชั่วคราวก็สามารถเข้าไปได้เช่นกัน โดยไม่ต้องกลับไปอยู่กับญาติราชินิกุลสายสุจริตกุลที่ตนจากมานานตั้งแต่ยังเป็นสาวแรกรุ่นครับ
พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ พระองค์เป็นพระธิดาของรัชกาล5ประสูติตั้งแต่รัชกาลที่5ยังมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เริ่มแรกที่ยังไม่ประสูตินั้นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ประทับอยู่กับหม่อมแพ บุนนาค ที่พระตำหนักสวนกุหลาบภายในพระบรมมหาราชวัง แต่เมื่อหม่อมแพใกล้จะคลอดนั้น จึงต้องหาสถานที่คลอดนอกพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากกฏมณเฑียรบาลนั้นระบุว่า นอกจากประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวแล้ว จะให้หญิงใดคลอดลูกภายในพระบรมหาราชวังไม่ได้ รัชกาลที่4จึงจัดวังนันทอุทยาน พระราชทานให้เป็นสถานที่ในการคลอดของหม่อมแพ นอกกำแพงวัง จากภาพคือ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ แรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศเป็นเพียงหม่อมเจ้า จากภาพด้านขวาบนคือวังนันทอุทยาน ล่างคือพระตำหนักสวนกุหลาบ ภายในพระบรมหาราชวัง
ที่มาจาก : FB คลังประวัติศาสตร์ไทย
AdminPhaitong สำนักข่าว vihok news